ฉนวนกันความร้อน เลือกอย่างไรให้คุ้มค่า
คำถามยอดฮิตที่หลายคนสงสัยเมื่อต้องการเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนคือ ควรเลือกจากอะไร เพื่อให้กันความร้อนได้ดีและคุ้มค่ามากที่สุด
การติดตั้งฉนวนกันความร้อน เป็นหนึ่งในวิธีลดความร้อนให้กับบ้านที่ได้ผลดี ซึ่งในท้องตลาดก็มีให้เลือกมากมาย หลายยี่ห้อ หลายความหนา จึงมีคำถามยอดฮิตตามมาว่า เราควรเลือกจากอะไร เพื่อให้ช่วยลดความร้อนได้ดีและคุ้มค่ากับเงินที่เราจ่าย?
หนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการกันความร้อนของฉนวนคือ ความสามารถในการต้านทานความร้อน ซึ่งจะดูได้จาก ค่า R หรือ ค่าความต้านทานความร้อน (Resistivity, R-Value) โดยค่า R ยิ่งมากก็จะยิ่งต้านทานความร้อนได้ดี (ดูแลรักษา)
จากสูตรการคำนวณข้างบน จะเห็นว่า ฉนวนที่มีความหนายิ่งมาก ค่า R จะยิ่งสูงตาม จึงยิ่งกันความร้อนได้ดี แต่นอกจากความหนาแล้ว เราควรดูภาพรวมด้วยว่า ความหนาที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพในการกันความร้อนแล้ว คุ้มค่าหรือไม่ ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง
หมายเหตุ: ผนังก่ออิฐมอญครึ่งแผ่น ฉาบปูนสองด้าน
นอกจากภาพเปรียบเทียบข้างต้นแล้ว เรายังเลือกจาก ราคาเฉลี่ยต่อตารางเมตร หารด้วย ค่า R เพื่อหาความคุ้มค่ากับเงินที่เราจะต้องจ่ายได้อีกด้วย หากค่าที่ออกมายิ่งน้อย นั่นหมายความว่า เราได้ฉนวนในราคาที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพในการกันความร้อนที่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น
ฉนวนกันความร้อน Stay Cool หนา 75 มม. ราคา 350 บาท/ม้วน (ใช้ได้ 2.4 ตร.ม./ม้วน) ราคาเฉลี่ยต่อตารางเมตร 145.83 บาท ค่า R (hr.ft2.°F/Btu) = 10 จะได้ 145.83 ÷ 10 = 14.58 บาท/hr.ft2.°F/Btu
ฉนวนกันความร้อน Stay Cool หนา 150 มม. ราคา 450 บาท/ม้วน (ใช้ได้ 2.4 ตร.ม./ม้วน) ราคาเฉลี่ยต่อตารางเมตร 187.50 บาท ค่า R (hr.ft2.°F/Btu) = 20 จะได้ 187.50 ÷ 20 = 9.37 บาท/hr.ft2.°F/Btu
จะเห็นได้ว่า การซื้อฉนวนกันความร้อน Stay Cool แบบหนา 150 มม. นั้นจะได้ค่า R ต่อ 1 หน่วย ที่ราคาถูกกว่า ฉนวนกันความร้อน Stay Cool แบบหนา 75 มม. จึงคุ้มค่ากว่านั่นเอง
นอกเหนือจากการเลือกฉนวนที่คุ้มค่าแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การระบายอากาศภายในบ้านที่ดี เพราะหากมีการติดตั้งฉนวน แต่ไม่มีการระบายอากาศ เมื่อเกิดความร้อนขึ้นก็จะถูกสะสมเก็บไว้ภายในบ้านเพราะโดนฉนวนกักเก็บความร้อนเอาไว้ และต้องใช้เวลานานกว่าจะระบายออกไปได้ คล้ายกับลักษณะของกระติกน้ำร้อนนั่นเอง
*ค่า R มีหน่วยเป็น m2K/W หรือ hr.ft2.°F/Btu ในการเปรียบเทียบค่า R ของวัสดุ จึงควรเปรียบเทียบที่หน่วยเดียวกัน
ขอขอบคุณที่มาของบทความ
www.scghome.com
ติดตาม
Facebook : SCGRachaprueck