บ้านใหม่ปูฉนวนกันความร้อนแบบไหนดี
ข้อมูลฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นประเภทต่าง ๆ ของ เอสซีจี เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนในบ้านใหม่ที่กำลังก่อสร้าง
บ้านใหม่ปูฉนวนกันความร้อนแบบไหนดี ? เจ้าของบ้านที่กำลังวางแผนสร้างบ้านใหม่ อาจมีหลายคนที่อยู่ในช่วงลังเลกับการเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนที่เข้ามาภายในบ้าน และเพื่อช่วยประหยัดพลังงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับใครที่กำลังพิจารณาเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนของ เอสซีจี เรามีคำแนะนำในการเลือกฉนวนให้ตอบโจทย์ความต้องการ และเหมาะสมกับงบประมาณตามที่เจ้าของบ้านได้กำหนดไว้ในบทความนี้
รู้จักฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นแต่ละประเภท
ในปัจจุบันมีฉนวนกันความร้อนขายอยู่ในท้องตลาดหลากหลายประเภท แต่สำหรับบ้านพักอาศัยนั้นเหมาะที่จะเลือกใช้ฉนวนแบบแผ่น เพราะติดตั้งในช่วงก่อสร้างได้ง่าย ทั้งยังมีหน้างานสะอาด แล้วฉนวนแบบแผ่นของ เอสซีจี มีอะไรบ้าง ไปรู้จักกันเลย
1. แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี
มีลักษณะเป็นแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์บางๆ ประกบกันสองชั้น ตรงกลางประกอบด้วยชั้นโพลีเอทธีลีนฟิล์ม กระดาษคราฟท์ เส้นใยแก้วสามทาง รวมถึงสารเคมีช่วยป้องกันการลามไฟ สามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้สูงถึง 95% ติดตั้งได้กับหลังคามุงทุกประเภททั้งบนแป และใต้แป
2. แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล
เป็นฉนวนที่ติดตั้งบนแปตามความลาดเอียงของหลังคา โดยจะมีร่องพอดีระยะแป ประกอบด้วยแผ่นสะท้อนความร้อนที่สะท้อนรังสีความร้อนได้ถึง 95% และฉนวนใยแก้วที่ช่วยหน่วงความร้อนให้เข้าสู่ตัวบ้านได้ช้าลง ทำให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันดีกว่าการติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนเพียงอย่างเดียวถึง 30% อย่างไรก็ตาม แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูลสามารถใช้ได้เฉพาะกับกระเบื้องหลังคาของเอสซีจีบางรุ่นเท่านั้น
3. ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL (ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว)
เนื้อฉนวนผลิตจากใยแก้ว หุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์เสริมแรง ออกแบบมาสำหรับติดตั้งเหนือฝ้าเพดานทั้งฝ้าแบบฉาบเรียบและฝ้าแบบที-บาร์ เพื่อป้องกันความร้อนที่มาทางโถงหลังคาผ่านฝ้าเพดานลงมาสู่ภายในบ้าน มี 2 ขนาดความหนาคือ 75 มิลลิเมตร (3นิ้ว) และ 150 มิลลิเมตร (6นิ้ว) โดยเนื้อฉนวนมีความหนามากก็ยิ่งสามารถป้องกันความร้อนได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ควรพิจารณาการรับน้ำหนักของโครงคร่าวฝ้าเพดานด้วย
เลือกฉนวนกันความร้อนให้เหมาะกับรูปแบบหลังคาบ้านเรา
โดยทั่วไปแล้ว ทรงหลังคาบ้านจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก คือ หลังคามุง เช่น หลังคาทรงจั่ว ปั้นหยา มนิลา เพิงแหงน ฯลฯ และอีกประเภทคือหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก (ดาดฟ้า) หลังคาทั้งสองประเภทนี้มีข้อคำนึงในการเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน ดังนี้
หลังคามุง – สามารถใช้ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี ได้ทุกประเภท
โดยอาจเลือกใช้ฉนวนประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือติดตั้งฉนวน 2 ประเภทควบคู่กัน เช่น ติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี หรือรุ่นอัลตราคูลร่วมกับการปูฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น Stay Cool การพิจารณาเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับงบประมาณ ความคุ้มค่า และรุ่นกระเบื้องหลังคาที่มุงในกรณีที่เลือกใช้แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล
หลังคาคอนกรีต – แนะนำให้ติดตั้งฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น Stay Cool ซึ่งปูบนฝ้าเพดานเท่านั้น
โดยสามารถเลือกความหนาแบบ 75 มิลลิเมตร (3 นิ้ว) หรือ 150 มิลลิเมตร (6 นิ้ว) ตามความเหมาะสมของโครงคร่าวและงบประมาณ
เลือกฉนวนกันความร้อนให้เหมาะสมและคุ้มค่า
ฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภทมีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนที่ต่างกัน โดยเราจะดูที่ “ค่าต้านทานความร้อน หรือที่เรียกย่อๆ ว่า ค่า R (Resistivity)” เป็นหลัก โดยถ้ามีค่า R ยิ่งสูง จะแสดงถึงประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนได้มากขึ้นนั่นเอง ซึ่งค่า R หาได้จากความหนาของฉนวนกันความร้อน หารด้วย “ค่าการนำความร้อน หรือค่า K (Conductivity)” ลองพิจารณาค่า R ของฉนวนกันความร้อน เอสซีจี แต่ละประเภทพร้อมราคาโดยประมาณต่อตารางเมตรตามตาราง
จากตารางจะเห็นว่า ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น Stay Cool หนา 6 นิ้ว จะมีค่า R มากที่สุด และหากเทียบอัตราส่วนระหว่างราคาต่อตารางเมตรกับค่า R ยังคุ้มค่ามากที่สุดด้วย
อย่างไรก็ตาม หากติดตั้งฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภทควบคู่กัน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนยิ่งขึ้น ทางเราได้มีการทดสอบการกันความร้อนของฉนวนกันความร้อนที่ติดตั้งร่วมกันในแต่ละรูปแบบด้วย โดยมีผลการทดสอบพร้อมราคาโดยประมาณต่อตารางเมตรดังนี้
จากผลการทดสอบตามตาราง หากพิจารณาที่ค่า R เป็นหลัก การเลือกใช้แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูล ควบคู่กับฉนวนกันความร้อนเอสซีจีรุ่น Stay Cool ความหนา 150 มิลลิเมตรนั้นสามารถป้องกันความร้อนได้ดีที่สุด โดยเหมาะกับบ้านที่ใช้กระเบื้องหลังคารุ่นที่สามารถติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่นอัลตราคูลได้ ส่วนบ้านที่มุงหลังคารุ่นอื่นอาจพิจารณาเลือกใช้แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี ควบคู่กับฉนวนกันความร้อนเอสซีจีรุ่น Stay Cool ความหนา 150 มิลลิเมตร ซึ่งมีค่า R รองลงมา ทั้งนี้อาจพิจารณาเลือกติดตั้งฉนวนร่วมกันในรูปแบบอื่นที่ประหยัดกว่าก็ได้เช่นกันขึ้นอยู่กับงบประมาณที่เราตั้งไว้ โดยให้สอดคล้องและคุ้มค่ากับประสิทธิภาพการกันความร้อนที่ได้
หวังว่าข้อมูลเกี่ยวกับฉนวนกันความร้อน เอสซีจี ประเภทต่างๆ ที่เล่ามา จะทำให้เจ้าของบ้านสามารถตัดสินใจเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนสำหรับบ้านหลังใหม่ พร้อมรับมือกับอุณหภูมิของอากาศที่ค่อนข้างสูงเกือบตลอดปีในประเทศของเราได้ไม่มากก็น้อย
ข้อมูลฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นประเภทต่าง ๆ ของ เอสซีจี เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนในบ้านใหม่ที่กำลังก่อสร้าง