SCG HOUSING EXPERT สาขาราชพฤกษ์

ติดต่อฝ่ายขายโทร. 02-422-5995-8

ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

ลงเสาเข็มยาวแล้ว ทำไมส่วนต่อเติมยังทรุด

ลงเสาเข็มยาวแล้ว ทำไมส่วนต่อเติมยังทรุด

ลงเสาเข็มยาวแล้ว ทำไมส่วนต่อเติมยังทรุด

ลงเสาเข็มยาวแล้ว ทำไมส่วนต่อเติมยังทรุด เจ้าของบ้านอาจเข้าใจหรือได้ยินมาว่า ถ้าจะต่อเติมบ้านให้ลงเสาเข็มยาวแล้วจะไม่ทรุด ซึ่งความจริงแล้ว ขึ้นอยู่กับระบบฐานรากใต้ดินของบ้านเดิม และชั้นดินในแต่ละพื้นที่ โดยมีวิศวกรเป็นผู้กำหนด (ต่อเติมบ้าน)

เจ้าของบ้านหลายคนอาจเคยเข้าใจหรือได้ยินมาว่า ถ้าจะต่อเติมบ้านให้ลงเสาเข็มยาวแล้วจะไม่เกิดการทรุดตัว แต่ทำไมพอใช้งานหรืออยู่อาศัยไปสักระยะหนึ่งก็ยังคงมีการทรุดตัวอยู่ จริงๆ แล้ว บ้านส่วนใหญ่ลงเสาเข็มไว้ลึกจนถึงชั้นดินแข็ง สำหรับพื้นที่ดินอ่อนอย่างเช่นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หากไม่ต้องการให้ส่วนต่อเติมทรุดไปตามดิน ควรลงเสาเข็มให้ลึกไปจนวางอยู่บนชั้นดินแข็งเช่นเดียวกับบ้านเดิม ซึ่งชั้นดินแข็งจะลึกลงไปประมาณ 17-23 เมตร (ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่) สำหรับพื้นที่ส่วนอื่นของประเทศจะมีความลึกของชั้นดินแข็งที่แตกต่างกันไป

 
ลงเสาเข็มยาวแล้ว ทำไมส่วนต่อเติมยังทรุด 1
ภาพ: หากส่วนต่อเติมมีการลงเสาเข็มแต่ไม่ลึกจนถึงชั้นดินแข็ง จะมีโอกาสเกิดการทรุดตัวเร็วกว่าบ้าน

ตัวอย่างเช่น บ้านเพื่อนอยู่แถวดอนเมือง บอกว่าลงเสาเข็มส่วนต่อเติมไปเพียง 18 เมตร ก็ลึกถึงชั้นดินแข็งแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่า บ้านเราที่อยู่แถวบางนา จะลงเสาเข็มของส่วนต่อเติมลึก 18 เมตร แล้วจะไม่ทรุดเหมือนกัน จึงต้องให้วิศวกรมาสำรวจความลึกของชั้นดินในแต่ละพื้นที่ก่อนการก่อสร้าง เพื่อกำหนดความลึกของเสาเข็มที่เหมาะสม (โดยสามารถขอข้อมูลเบื้องต้นจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้) รวมถึงช่วยประเมินและออกแบบว่าจะต้องใช้เสาเข็มรูปแบบไหน มีขนาดและความลึกลงไปเท่าไร จำนวนเสาเข็มที่ต้องใช้ทั้งหมด เพื่อให้เหมาะสมสามารถรองรับน้ำหนักทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น และช่วยลดปัญหาการทรุดตัวของส่วนต่อเติมได้ (หากที่ดินบ้านเรามีชั้นดินแข็งลึกที่ 22 เมตร แต่เราลงเสาเข็มลึก 18 เมตร ส่วนต่อเติมก็มีโอกาสทรุดเร็วกว่าตัวบ้านเดิม ถ้าไม่อยากให้ทรุดก็ต้องลงเสาเข็มลึกถึง 22 เมตร)

ลงเสาเข็มยาวแล้ว ทำไมส่วนต่อเติมยังทรุด 2
ภาพ: หากลงเสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็ง จะช่วยให้เกิดแรงต้านซึ่งจะช่วยชะลอการทรุดตัวของบ้านส่วนต่อเติม โดยจะมีแรงต้านจากแรงเสียดทานของชั้นดินอ่อน และแรงดันจากชั้นดินแข็งเพื่อรองรับบ้านส่วนต่อเติม

อย่างไรก็ตาม งานเสาเข็มส่วนต่อเติมที่ได้รับความนิยมจะมี 2 แบบ คือ เสาเข็มเจาะ กับ เสาเข็มสปัน (SPUN MICROPILE) ซึ่งเสาเข็มเจาะจะใช้ “สามขา” ในการเจาะ ซึ่งจะเป็นเข็มเจาะระบบเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายเครื่องมือเข้าไปทำงานในพื้นที่ขนาดเล็กได้ และหล่อเสาเข็มคอนกรีตได้โดยไม่สร้างแรงกระเทือนกับบ้านที่อยู่ใกล้เคียง โดยที่ในกระบวนการทำงานเสาเข็มเจาะ จะสังเกตจากหน้างานได้ว่ามีการขุดเจาะดินจนเห็นทรายติดขึ้นมา (สัมพันธ์กับความลึกของชั้นดินที่สำรวจ และวิศวกรกำหนดไว้) แสดงว่าเจาะลงไปจนถึงชั้นดินแข็งแล้ว จึงใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไป

 
ลงเสาเข็มยาวแล้ว ทำไมส่วนต่อเติมยังทรุด 3
ภาพ: เสาเข็มเจาะ เมื่อขุดเจาะดินลึกลงไปจนถึงชั้นดินแข็งแล้ว จึงใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไป
ลงเสาเข็มยาวแล้ว ทำไมส่วนต่อเติมยังทรุด 4
ภาพ: ใช้สามขาในการเจาะดินให้ลึกลงไปจนถึงชึ้นดินแข็ง

ส่วนเสาเข็มสปัน ซึ่งผลิตโดยการปั่นคอนกรีตด้วยความเร็วสูงและมีโครงลวดเหล็กอัดแรงฝังในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ จึงแข็งแรงกว่าเสาเข็มทั่วไป ทั้งยังตอกในพื้นที่แคบได้เนื่องจากอุปกรณ์ตอกมีขนาดเล็กมาก เสาเข็มสปันมีความยาวประมาณ 1.50 เมตร แต่สามารถนำแต่ละท่อนมาเชื่อมต่อกันได้เพื่อตอกให้ลึกลงไปจนถึงชั้นดินแข็งได้ (ตัวอย่างเช่น ชั้นดินแข็งลึกที่ 21 เมตร จะต้องใช้เสาเข็มสปันจำนวน 14 ท่อนในการตอกเสาเข็ม 1 ต้น) ซึ่งมาตรฐานในการทดสอบว่าเสาเข็มลึกลงไปจนถึงชั้นดินแข็งโดยวิธีการนับ Blow Count (ระยะจมของเสาเข็มในการทดสอบด้วยการตอก 10 ครั้ง ซึ่งจะต้องมีค่าไม่เกินกว่าที่คำนวณได้จึงจะผ่านเกณพ์) และด้วยหน้าตัดเสาเข็มที่กลวง ทำให้ดินไหลออกทางรูกลวง เวลาตอกจึงช่วยลดแรงสั่นสะเทือนได้ แต่จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

ลงเสาเข็มยาวแล้ว ทำไมส่วนต่อเติมยังทรุด 5
ภาพ: เสาเข็มสปัน ที่สามารถนำมาเชื่อมต่อกันหลายๆ ท่อนให้ลึกลงไปจนถึงชั้นดินแข็งได้
ลงเสาเข็มยาวแล้ว ทำไมส่วนต่อเติมยังทรุด 6
ภาพ: การตอกเสาเข็มสปัน ที่สามารถตอกในพื้นที่แคบได้เนื่องจากอุปกรณ์ตอกมีขนาดเล็กมาก
ลงเสาเข็มยาวแล้ว ทำไมส่วนต่อเติมยังทรุด 7
ภาพ: การเชื่อมต่อเสาเข็มสปัน เพื่อให้ได้ความลึกตามที่ต้องการจนถึงชั้นดินแข็ง

สิ่งสำคัญต้องสำรวจความเป็นไปได้ในการเข้าถึงและพื้นที่ติดตั้งเครื่องมือในการลงเสาเข็มเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกประเภทและรูปแบบของเสาเข็ม รวมถึงความเป็นไปได้ของการก่อสร้างเพื่อให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้มากที่สุด

* การก่อสร้างส่วนต่อเติม ควรแยกโครงสร้างใหม่ออกจากโครงสร้างบ้านเดิมอย่างอิสระจากกัน ทั้งในส่วนของฐานรากและเสาเข็มที่ควรแยกเป็นคนละชุดกัน รวมถึงให้ความสำคัญกับรอยต่อหลังคา ผนัง เพื่อป้องกันปัญหาแตกร้าวหรือรั่วซึมตามรอยต่อที่เกิดการการทรุดตัว

ขอขอบคุณที่มาของบทความ
www.scghome.com

ใส่ความเห็น

×

Cart