ซ่อมรอยร้าว รวมปัญหาเรื่องรอยร้าวที่เจ้าของบ้านควรรู้
ซ่อมรอยร้าว รวมปัญหาเรื่องรอยร้าวที่เจ้าของบ้านควรรู้ รอยร้าวภายในบ้าน คือ สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากปล่อยไว้นานๆ ไม่รีบดำเนินการแก้ไข อาจส่งผลให้บ้านพังถล่มเสียหาย หากรอยร้าวนั้นส่งผลกับโครงสร้างหลักของบ้านโดยตรง พบกับคำตอบปัญหาเรื่องรอยแตกร้าวในแต่ละจุด ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร วิธีป้องกัน และการแก้ไขอย่างถูกวิธี ปูนตราเสือมีข้อมูลมาฝากกันครับ
รอยร้าวแบบที่ 1
เกิดจากฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน ทำให้ผนังที่เชื่อมต่อระหว่างเสาเกิดการเคลื่อนตัว และทำให้มีแรงดึงภายในผนังจนทำให้ผนังแตกร้าว โดยด้านที่ฐานรากทรุดตัวมากกว่า แนวรอยแตกก็จะปรากฏอยู่บริเวณด้านบน
การป้องกัน
ตรวจเช็คการออกแบบ และการก่อสร้างฐานรากให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
การแก้ไข
เจ้าของบ้านควรสังเกต ขีดเส้น พร้อมบันทึกวันเอาไว้ หากากพบว่ารอยแตกร้าวมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ควรปรึกษาบริษัทด้านวิศวกรรมที่มีความเชี่ยวชาญงานซ่อมโครงสร้างโดยเฉพาะ
รอยร้าวแบบที่ 2
เกิดจากคานรับนํ้าหนักไม่ไหว จนเกิดการแอ่นตัว ผนังใต้คานจะถูกกดทับจนแตก ซึ่งรอยแตกร้าวลักษณะนี้มักจะเกิดช่วงบริเวณกลางผนัง และเป็นรอยแตกร้าวในแนวดิ่ง ถ้าคานตัวใดมีผนังอยู่ข้างใต้ จะพบรอยแตกร้าวที่ผนังเป็นส่วนใหญ่ โดยที่คานไม่ค่อยแตกร้าว
การป้องกัน
ตรวจเช็คการออกแบบ และการก่อสร้างคานให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
การแก้ไข
ขั้นแรกควรสังเกตว่าคานแตกร้าวด้วยหรือไม่ ถ้าเกิดมี ควรปรึกษาวิศวกรโดยตรงเพื่อทำการแก้ไขในทันที ส่วนรอยแตกร้าวที่เกิดเฉพาะบริเวณผนังให้รีบนำวัตถุที่มีนํ้าหนักที่กดทับผนังออก และถ้าเป็นรอยขนาดเล็กให้ใช้อะคริลิกอุดรอย แต่ถ้ารอยขนาดใหญ่ขึ้นมาใช้ซิลิโคนอุดแทน
รอยร้าวแบบที่ 3
เกิดจากฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน จะทำให้ผนังที่เชื่อมต่อระหว่างเสาเกิดการเคลื่อนตัว จนทำให้ผนังแตกร้าว โดยอาจเกิดขึ้นบริเวณขอบเสาในแนวดิ่ง หรือแนวเฉียงก็ได้ โดยฐานรากด้านผนังที่ไม่เกิดรอยร้าวทรุดตัวมากกว่า
การป้องกัน
ตรวจเช็คการออกแบบ และการก่อสร้างฐานรากให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม รวมถึงมีวางเสา และตอม่อใต้ดินในกรณีพื้นดินไม่แข็งพอ
การแก้ไข
เจ้าของบ้านควรสังเกต ขีดเส้น พร้อมบันทึกวันเอาไว้ หากากพบว่ารอยแตกร้าวมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ควรปรึกษาบริษัทด้านวิศวกรรมที่มีความเชี่ยวชาญงานซ่อมโครงสร้างโดยเฉพาะ
รอยร้าวแบบที่ 4
เกิดจากขั้นตอนการทำงานก่อที่ไม่ถูกต้อง เมื่อผนังมีการหดตัว จึงเกิดการยึดรั้งกับเสา และเกิดการแตกร้าว บริเวณขอบเสาขึ้น
การป้องกัน
ควรเสียบเหล็กหนวดกุ้ง ทำเสาเอ็น และคานทับหลังเป็นการป้องกัน หากผนังสูงมากกว่า 1.50 เมตร หรือยาวมากกว่า 2.50 เมตร
การแก้ไข
ควรอุดรอยร้าวด้วยซิลิโคน ยกเว้นรอยที่มีขนาดใหญ่มาก อาจต้องสกัดผนังไปจนถึงเสาเอ็นแล้วฉาบใหม่อีกครั้ง
รอยร้าวแบบที่ 5
เกิดจากขั้นตอนการทำผนังไม่ทิ้งระยะเวลาให้ปูนก่อทรุดตัวลงก่อน เมื่อฉาบปูนทับไปแล้ว ทำให้ผนังเกิดทรุดตัว ลงตามธรรมชาติในภายกลัง จึงเกิดรอยร้าวบริเวณด้านบนใกล้ขอบคานด้านล่าง มีลักษณะเป็นรอยร้าวเล็กๆ หลายรอยในแนว นอน อาจมีนํ้ารั่วซึมด้วย
การป้องกัน
ผนังที่ก่อชนท้องคาน หรือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก จะต้องเว้นช่องไว้ประมาณ 10 เซนติเมตร ทิ้งไว้อย่างน้อย 3 วัน เพื่อให้ผนัง เซตตัวและทรุดตัวตามธรรมชาติ จากนั้นจึงค่อยทำการก่ออิฐให้ชนเพดาน
การแก้ไข
หากรอยร้าวมีขนาดเล็ก ให้ทำการอุดด้วยอะคริลิก หากรอยร้าวมีขนาดใหญ่ ให้ทำการอุดด้วยซิลิโคนแทน
รอยร้าวแบบที่ 6
เกิดจากการกระจายแรงบนผิวฉาบไม่เท่ากัน ทำให้มุมวงกบเกิดการแตกร้าว ซึ่งส่งผลให้เกิดการรั่วซึมของนํ้า เข้ามาในบ้าน
การป้องกัน
ควรทำเสาเอ็น และคานทับหลังล้อมรอบวงกบประตูหน้าต่าง เพื่อช่วยรับนํ้าหนัก และควรใช้ลวดกรงไก่ยึดติดกับผนังอิฐตาม บริเวณมุมวงกบ
การแก้ไข
ควรอุดรอยร้าวด้วยอะคริลิก แล้วทาสีทับ หรือสกัดผนังส่วนที่แตกออก จากนั้นนำลวดกรงไก่มายึดติดกับผนังอิฐ แล้วค่อยฉาบ ปูนใหม่
รอยร้าวแบบที่ 7
เกิดจากการผสมปูนซีเมนต์ทั่วไปอย่างผิดสัดส่วน และปูนที่เค็มเกินไป ขั้นตอนการฉาบผิดพลาด ขาดการบ่มนํ้า รวมถึงสภาพอากาศที่ร้อนชื้นอาจส่งผลให้เนื้อปูนสูญเสียนํ้าเร็วเกินไป
การป้องกัน
สำหรับปูนซีเมนต์ผสม ควรผสมในสัดส่วนที่ถูกต้อง หรือ เลือกใช้สำหรับปูนซีเมนต์สำเร็จรูป เช่น เสือ มอร์ตาร์ ฉาบทั่วไป ซึ่งผสมไว้อย่างถูกต้องแล้ว รวมถึงควรฉาบปูนอย่างถูกวิธี และบ่มผนังที่ฉาบเสร็จแล้วต่อไปอีก 3-4 วัน และเพิ่มระยะเวลาหากต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด หรือลมแรง
การแก้ไข
ควรอุดรอยร้าวด้วยอะคริลิก แล้วทาสีทับ หรือโป๊วสีก่อน แล้วทาสีทับอีกครั้ง
ขอขอบคุณที่มาของบทความ
www.tigerbrandth.com