ผนังกันเสียง วัสดุอะคูสติก SCG
รุ่น Cylence Zoundblock
ผนังกันเสียง วัสดุอะคูสติก SCG รุ่น Cylence Zoundblock
ผนังกันเสียง วัสดุอะคูสติก SCG รุ่น Cylence Zoundblock นำเสนอวิธีแก้ปัญหาและป้องกันเสียงรบกวนจากเพื่อนบ้านที่อยู่ ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม ตึกแถว หรือคอนโดฯ ยูนิตติดกัน รวมถึงการทำผนังกันเสียงด้วยฉนวนกันเสียงอย่าง วัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Zoundblock
เมื่อพูดถึงที่พักอาศัยซึ่งต้องใช้ทั้งผนังและโครงสร้างร่วมกับเพื่อนบ้านยูนิตติดกัน หนึ่งในปัญหาที่เจอบ่อยๆ ก็คือ เสียงรบกวนที่เล็ดลอดถึงกัน ทั้งเสียงเขามารบกวนเราและเสียงเราไปรบกวนเขา แล้วเราจะป้องกันเสียงรบกวนอย่างไรจึงจะได้ผล ก่อนจะไปถึงประเด็นนี้ เราควรมาทำความเข้าใจเรื่องเสียงกันสักหน่อย
ก่อนจะป้องกันเสียงรบกวน ควรเข้าใจการเดินทางของเสียง
การเดินทางของเสียงเป็นอีกปัจจัยที่เราควรรู้เพื่อหาวิธีป้องกันได้ตรงจุด โดยธรรมชาติเสียงจะต้องเดินทางผ่านตัวกลางเสมอ โดยอาศัยตัวกลางได้ 2 แบบ คือ ตัวกลางที่เป็นอากาศ กับ ตัวกลางที่เป็นโครงสร้าง
เสียงส่งผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศ (Airborne Sound Transmission) โดยเสียงจะเดินทางผ่านอากาศส่วนต่างๆ ซึ่งรวมถึงช่องว่างของทุกรอยต่อ เช่น รอยต่อระหว่างวงกบประตูหน้าต่างกับผนังหรือตัวหน้าบานเอง กรณีทาวน์โฮม ตึกแถว หรือคอนโดฯ ที่ใช้ผนังร่วมกันเพื่อนบ้าน อาจพบปัญหาเสียงลอดตามรอยต่อปลั๊กที่อยู่ตำแหน่งเดียวกัน รวมถึงปัญหาเสียงลอดผ่านช่องว่างของผนังส่วนเหนือฝ้าที่ก่อไม่ชนถึงท้องคาน
เสียงส่งผ่านตัวกลางที่เป็นโครงสร้าง (Structure-Borne Sound Transmission) โดยการสั่นสะเทือนของโครงสร้างหรือส่วนประกอบอาคาร อย่างเวลาปิดประตูแรงๆ กระแทกจนเกิดแรงสั่นสะเทือนผ่านวงกบต่อเนื่องไปยังผนัง พื้น/คาน/เสา หรือเวลาที่ข้างบ้านเปิดเพลงดังจนเรารู้สึกถึงการสั่นสะเทือนที่กระทบผ่านส่วนต่างๆ ของอาคาร
จะป้องกันเสียงรบกวนจากเพื่อนบ้าน (ยูนิตติดกัน) ได้อย่างไรบ้าง
สำหรับทาวน์โฮม ตึกแถว หรือคอนโดฯ ที่ต้องใช้ผนังร่วมกับเพื่อนบ้าน วิธีลดและป้องกันเสียงรบกวนที่มักทำได้คือ
- ป้องกันเสียงรบกวนลอดตามรอยต่อปลั๊กไฟบนผนังที่ใช้ร่วมกัน หากปลั๊กไฟของเรากับเพื่อนบ้านอยู่ตรงกัน ให้ย้ายปลั๊กไฟของเราไปไว้ตำแหน่งอื่น
- ป้องกันเสียงรบกวนลดเสียงลอดผ่านช่องว่างผนังเหนือฝ้าเพดาน หากเปิดฝ้าเพดานแล้วพบว่ามีช่องว่างดังกล่าว ให้ก่ออิฐหรือใช้ผนังเบาปิดช่องว่างระหว่างผนังกับใต้ท้องคานให้เรียบร้อย
ป้องกันเสียงรบกวนจากการปิดประตูหน้าต่างแรงๆ หรือเปิดเพลงเสียงดัง อันนี้ควรเจรจาขอความร่วมมือกับเพื่อนบ้านเท่าที่ทำได้ ในส่วนของเราอาจทำการซีลขอบยางประตูหน้าต่างให้แนบสนิทช่วยลดแรงกระแทกเวลาปิดไม่ให้ไปรบกวนเพื่อนบ้าน
ป้องกันเสียงรบกวนด้วยการเพิ่มค่าการกันเสียงของผนัง อธิบายง่ายๆ คือ ขณะเสียงเดินทางผ่านอากาศ หากมีวัสดุมากั้น เสียงที่ทะลุผ่านวัสดุไปจะเบาลง แต่จะเบาลงแค่ไหนขึ้นอยู่กับ “ค่าการกันเสียง” หรือที่มักเรียกกันว่า “ค่า STC” ของวัสดุที่มากั้น โดยค่า STC ที่ยิ่งสูงจะยิ่งกันเสียงได้มาก ทั้งนี้ เราสามารถเพิ่มค่า STC ให้ผนังเดิมได้ด้วยการทำผนังเพิ่มอีกชั้น เช่น ผนังอิฐอาจก่อซ้อนเพิ่มอีกชั้นหรือทำผนังโครงเบาติดทับ โดยสามารถนำวัสดุที่มีค่า STC สูง อย่างฉนวนกันเสียง มาซ่อนในโครงผนังเบาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกันเสียงได้ด้วย (จะใช้วางเหนือฝ้าเพดานเพื่อป้องกันเสียงจากเพดานก็ได้) ทั้งนี้ การเพิ่มค่าการกันเสียง หรือ ค่า STC ให้กับผนังนั้น สามารถช่วยลดทั้งเสียงรบกวนที่เดินทางผ่านอากาศ และลดแรงสั่นสะเทือนที่ผ่านโครงสร้าง จึงเหมาะในการป้องกันเสียงรบกวนผ่านผนังที่ต้องใช้ร่วมกับเพื่อนบ้าน
ทำผนังกันเสียงด้วยฉนวนกันเสียง เพิ่มค่า STC ช่วยกันเสียงรบกวน
เพื่อให้เห็นภาพ จะขอแนะตัวอย่าง “การทำผนังกันเสียง” เป็นการเพิ่มค่า STC เพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากผนัง ด้วยการติดตั้งผนังโครงเบาเข้ากับผนังเดิม โดยฉนวนกันเสียงที่ใช้ คือ วัสดุอะคูสติกสำหรับผนังกันเสียงรุ่น Cylence Zoundblock S050 ติดตั้งในโครงคร่าวกัลวาไนซ์ขนาด C74 และ U76 ปิดทับด้วยแผ่นสมาร์ทบอร์ด เอสซีจี หนา 8 มม. ขึ้นไป หรือยิปซัมบอร์ดหนา 12 มม. ขึ้นไป ผนังที่ได้จะมีค่าการกันเสียงอยู่ที่ประมาณ STC 48 – STC 54 ขึ้นอยู่กับวัสดุเดิม ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่มีประสิทธิภาพ เหมาะกับการใช้งาน (ปกติแล้ว ผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไปมีค่า STC ประมาณ 40)
ขั้นตอนทำผนังกันเสียงด้วยวัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Zoundblock
1. ติดตั้งโครงคร่าว C74 และ U76 บนผนังเดิมตั้งแต่พื้นจรดเพดาน โดยเว้นระยะห่างที่ 0.60 ซม. (หรือตามที่ผู้ผลิตกำหนดในคู่มือการติดตั้ง)
2. ติดตั้งวัสดุอะคูสติกสำหรับผนังกันเสียง รุ่น Cylence Zoundblock S050 ในโครงคร่าว
3. ติดตั้งแผ่นผนังสมาร์ทบอร์ด เอสซีจี (หนา 8 มม.) หรือแผ่นยิปซัม (หนา 12 มม.) บนโครงคร่าว
4. ฉาบอุดโป๊ว เก็บสี ตกแต่ง บริเวณรอยต่อแผ่นระหว่างแผ่นผนังและบริเวณหัวสกรูให้เรียบร้อย
5. จากนั้นทาสีหรือตกแต่งผนังตามใจชอบ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย สามารถใช้พื้นที่ในการนั่งพักผ่อนหรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่ชื่นชอบได้เต็มที่สบายใจมากขึ้น
ขอขอบคุณที่มาของบทความ
www.scghome.com
Pingback: ปรับปรุงบ้านตอบโจทย์ชีวิตแนวใหม่ - rangnam.scg-smarthome.com