รีวิววิธีแก้ไขปัญหาเสียงก้องในห้องประชุมอบรมสัมมนา
ห้องประชุมเสียงก้อง ต้องรีบแก้ไข ยิ่งปล่อยไว้ ยิ่งส่งผลให้การทำงานไร้ประสิทธิภาพ!! วันนี้ SCG จะพาไปรีวิวขั้นตอนการแก้ไขปัญหาเสียงก้องในห้องประชุมแห่งหนึ่ง โดยทีมวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงของ SCG ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประชุม อบรม สัมมนาแล้ว ยังเป็นวิธีที่ทำได้ไม่ยากและคุ้มค่าอีกด้วย
รีวิววิธีแก้ไขปัญหาเสียงก้องในห้องประชุมอบรมสัมมนา เคยบ้างไหมกับการประชุมในห้องใหญ่ๆ แต่ฟังอะไรไม่ค่อยชัดเจนเพราะเสียงก้อง ยิ่งมีเสียงคนคุยซ้อนขณะทำกิจกรรมกลุ่มในห้องประชุมด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้อรรถรสในการเข้าร่วมกิจกรรมหายไปหรือไม่อยากจะร่วมกิจกรรม ปัญหานี้ดูเหมือนจะเป็นปัญหาเล็กๆ แต่พอบ่อยครั้งเข้า ก็กระทบต่อการทำงานอย่างมาก เพราะผู้เข้าร่วมประชุมหรือร่วมกิจกรรมไม่สามารถรับสารได้อย่างเข้าใจ อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดความหงุดหงิดอีก และอาจส่งผลให้งานที่ออกมานั้นไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อย่างเช่นการจัดอบรมในห้องประชุมของบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่ง SCG ได้มีโอกาสเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาเสียงก้องให้ วันนี้เราจะพาไปรีวิวกันว่า มีวิธีการและขั้นตอนอย่างไรบ้าง รวมถึงเมื่อแก้ไขแล้วนั้น ผลลัพธ์ที่ได้นั้นคุ้มค่าขนาดไหน โดยรายละเอียดในการแก้ไขปัญหาเสียงก้องของห้องประชุมสัมมนาที่ว่า มีดังนี้
1. สำรวจห้องประชุม ทดลองใช้เสียงเพื่อประเมินการแก้ไข
ขั้นตอนแรกของการแก้ไขปัญหาเสียงก้องของห้องประชุมนั้น ทีมวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงของ SCG ได้สำรวจห้องประชุม ว่าห้องนี้มีขนาดเท่าไร มีการออกแบบค่าความก้องเสียงไว้อย่างไรบ้าง และดูตำแหน่งการจัดวางสิ่งของในห้องประชุมว่ามีความสัมพันธ์กับค่าความก้องของเสียงมากแค่ไหน จากนั้นจึงทดลองใช้เสียงเพื่อดูว่าเสียงที่ใช้ในการทำกิจกรรมจริงก่อนการแก้ไขปัญหาเสียงนั้น มีลักษณะอย่างไร
Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.2. ตรวจวัดค่าความก้อง เพื่อให้ทราบว่าจะต้องแก้ไขด้วยวิธีไหน
หลังจากสำรวจพื้นที่ห้องประชุมซึ่งมีขนาด 56 ตารางเมตร (ขนาด 7×8 ตารางเมตร) และทดลองใช้เสียงจริงดูแล้ว ลำดับต่อไป ทีมวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงของ SCG ได้ทำการ “วัดค่าความก้อง” หรือการวัด “Reverberation Time” (RT) ซึ่งหมายถึงระยะเวลาการสะท้อนกลับของเสียง โดยค่า RT มีมากเท่าไร ก็แสดงให้เห็นถึงความก้องมากเท่านั้น ซึ่งสำหรับห้องประชุมนี้ ทางทีมวัดค่า RT ได้ที่ 1.71 วินาที ซึ่งถือเป็นระดับค่าความก้องที่ส่งผลให้การใช้เสียงทำกิจกรรมในห้องประชุมไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้สื่อสารกันไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง และสร้างความหงุดหงิดให้กับผู้เข้าร่วมการประชุม
*ห้องประชุมขนาด 56 ตารางเมตร ควรควรมีค่าความก้องที่เหมาะสมประมาณ 0.5-0.7 วินาที
3. ลงมือแก้ไขปัญหา ออกแบบค่าความก้องใหม่ให้เหมาะสม
เมื่อทราบแล้วว่าค่า RT ของห้องประชุมอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม ทางทีมวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงของ SCG จึงได้ทำการออกแบบค่าความก้องที่เหมาะสมให้ใหม่ (ค่าความก้องที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับขนาดแต่ละห้อง และฟังก์ชั่นการใช้งานของห้องนั้นๆ) โดยกำหนดพื้นที่และตำแหน่งที่จะติดตั้งวัสดุอะคูสติก ซึ่งเมื่อทีมวิศวกรทำการออกแบบและกำหนดค่าความก้องใหม่ได้แล้ว ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงได้เลือกใช้ผนังตกแต่งดูดซับเสียง Cylence Zandera ซึ่งผลิตจากแผ่นกลาสวูลที่ผ่านการขึ้นรูปให้เป็นแผ่นแข็ง มีน้ำหนักเบา หุ้มด้วยผ้าที่มีสีสันสวยงาม ติดตั้งง่าย นอกจากจะเป็นการบุผนังเพื่อดูดซับเสียงก้องได้แล้ว ยังเป็นการตกแต่งห้องประชุมให้สวยงามไปด้วยพร้อมกันในคราวเดียว
4. ประเมินผลการทำงาน วัดเสียงก้องว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่
หลังจากเสร็จสิ้นการติดตั้งวัสดุดูดซับเสียงแล้ว (การติดตั้งวัสดุอะคูสติกในครั้งนี้คิดเป็น 30-40% ของพื้นที่ผนังห้องทั้งหมด) ทางทีมวิศวกรและทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงของ SCG ได้ทำการวัดค่า RT หรือ ค่าความก้องของเสียงอีกครั้งเพื่อประเมินผล ซึ่งปรากฏว่าสามารถลดค่าความก้องลงได้จาก 1.71 วินาที เหลือเพียงแค่ 0.55 วินาทีเท่านั้น พบว่าเสียงที่ใช้ภายในห้องประชุมหลังการติดตั้งวัสดุอะคูสติกแล้ว เป็นเสียงที่เหมาะสม ฟังรู้เรื่อง และไม่ก้องไม่สะท้อนเหมือนก่อน
สรุปผลงานการแก้ไขปัญหาเสียงก้องของห้องประชุมในครั้งนี้ ทำให้พนักงานและผู้บริหารในองค์กรจัดกิจกรรมประชุมอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทุกคนมีความรู้สึกดีขึ้นกับการทำกิจกรรม และสามารถสื่อสารกันได้อย่างราบรื่น โดยค่าใช้จ่ายสำหรับการแก้ไขปัญหาเสียงก้องของห้องประชุมนี้อยู่ที่ประมาณ 250,000 บาท ซึ่งถือได้ว่าคุ้มค่าไม่น้อย
“ปัญหาเสียงก้องในห้องประชุมอบรม
ยิ่งปล่อยไว้ให้ปานปลายสะสม
ยิ่งส่งผลต่ออารมณ์และประสิทธิภาพ
ในการทำงานของทุกคนในองค์กร”
ขอบคุณที่มาของบทความ : www.scgbuildingmaterials.com