HOUSING EXPERT BY SCG | สาขาราชพฤกษ์

ติดต่อฝ่ายขายโทร. 02-422-5995-8

ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

เลือกฉนวนกันความร้อนอย่างไรให้บ้านเย็น

เลือกฉนวนกันความร้อนอย่างไรให้บ้านเย็น

เลือกฉนวนกันความร้อนอย่างไรให้บ้านเย็น

ก่อนเลือกฉนวนเพื่อป้องกันความร้อนให้บ้าน หลักๆ แนะนำให้ดูค่าการต้านทานความร้อน และค่านำพาความร้อนของฉนวนแต่ละแบบมาเปรียบเทียบกันในหน่วยเดียวกันก่อนการตัดสินใจ

ฉนวนกันความร้อน เป็นตัวช่วยหนึ่งในการลดความร้อนให้บ้าน การจะเลือกฉนวนกันความร้อนมาใช้กับบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบริเวณโถงหลังคาหรือผนังนั้น แนะนำให้ดูว่าฉนวนนั้นๆ มีค่าการต้านทานความร้อน และค่าการนำพาความร้อนเป็นอย่างไร (ดูแลรักษา)

เลือกฉนวนกันความร้อนอย่างไรให้บ้านเย็น 1
ภาพ: คุณสมบัติฉนวนกันความร้อนที่ดี

 

ค่าการต้านทานความร้อน หรือ ค่า R (Resistivity) เป็นค่าแสดงความสามารถในการต้านทานความร้อนของวัสดุนั้นๆ มีหน่วยเป็น m2K/W หรือ hr.ft2.°F/Btu โดยที่ค่า R ยิ่งมากจะยิ่งต้านทานความร้อนได้ดี หากเราต้องการลดความร้อนที่จะผ่านเข้าสู่ตัวบ้าน จึงควรเลือกใช้ฉนวนที่มีค่า R สูง

ส่วนค่าการนำพาความร้อน หรือ ค่า K (Thermal Conductivity) ซึ่งคือค่าที่แสดงความสามารถในการถ่ายเทความร้อนด้วยการนำความร้อนของวัสดุ มีหน่วยเป็น W/(m.K) หรือ Btu/(hr ft °F) โดยค่า K ยิ่งสูงจะยิ่งนำความร้อนมาก ดังนั้น หากต้องการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน ควรเลือกใช้วัสดุที่มีค่า K ต่ำ

เลือกฉนวนกันความร้อนอย่างไรให้บ้านเย็น 2
ภาพ: สูตรคำนวณหาค่า R และ ค่า K
เลือกฉนวนกันความร้อนอย่างไรให้บ้านเย็น 3
ภาพ: จากสูตรการคำนวณ จะเห็นว่าความหนาฉนวนยิ่งมาก ก็ยิ่งมีค่าการต้านทานความร้อนสูง จึงยิ่งกันความร้อนได้ดี

 

จากสูตรคำนวณหาค่า R และ ค่า K จะเห็นว่า ค่า R จะหาได้จาก ความหนาวัสดุหารด้วยค่า K ดังนั้น ค่า R จึงแปรผกผันกับค่า K และหากเราต้องการวัสดุฉนวนที่จะช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน ควรเลือกใช้วัสดุที่มีค่า R สูง ค่า K ต่ำ เพื่อให้ช่วยลดความร้อนที่จะผ่านเข้าสู่ตัวบ้านได้ดียิ่งขึ้น

*อย่าลืมเปรียบเทียบฉนวนในหน่วยเดียวกัน เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการเปรียบเทียบวัสดุฉนวนแต่ละชนิด

**นอกจากการพิจารณาฉนวนกันความร้อนจาก ค่า R และ ค่า K แล้ว เราควรดูเรื่องคุณสมบัติ ข้อดีข้อเสียของฉนวนแต่ละวัสดุแต่ละประเภทก่อนการตัดสินใจอีกด้วย

นอกจากการเลือกใช้ฉนวนเพื่อป้องกันความร้อนแล้ว เรายังมีทางเลือกอื่นๆ ที่จะช่วยป้องกันความร้อนก่อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบจัดวางตัวอาคารในทิศทางที่เหมาะสมโดยเปิดช่องเปิดในฝั่งที่ลมโกรกรับแดดยามเช้าหรือแสงแดดส่องน้อย การปลูกต้นไม้ใหญ่ช่วยบังแสงแดดให้ผนังหรือหลังคาบ้านหรือทำระแนงแผงบังตาส่วนที่แดดแรง และเลือกใช้วัสดุในการก่อสร้างบ้านที่มีการนำพาความร้อนต่ำหรือต้านทานความร้อนสูง รวมถึงการทำระบบการระบายถ่ายเทอากาศที่ดี เป็นต้น

 

ขอบขอบคุณที่มาของบทความ
www.scghome.com

ติดตาม
Facebook : SCGRachaprueck

 

 

ใส่ความเห็น

×

Cart