SCG HOUSING EXPERT สาขาราชพฤกษ์

ติดต่อฝ่ายขายโทร. 02-422-5995-8

ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

4 ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นยอดฮิต ติดตั้งบริเวณโถงหลังคา

4 ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นยอดฮิต ติดตั้งบริเวณโถงหลังคา

"4 ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นยอดฮิต ติดตั้งบริเวณโถงหลังคา"

4 ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นยอดฮิต ติดตั้งบริเวณโถงหลังคา การติดตั้งฉนวนกันความร้อนบริเวณโถงหลังคา เป็นหนึ่งในวิธีป้องกันความร้อนที่จะส่งผ่านเข้ามาภายในบ้าน ซึ่งฉนวนที่ได้รับความนิยมจะเป็นฉนวนแบบแผ่น ในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลาย เราจึงควรพิจารณาถึงคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ความสามารถในการต้านทานความร้อน รวมถึงราคาเพื่อประกอบการตัดสินใจ

ฉนวนมีหน้าที่ป้องกันความร้อนที่จะส่งผ่านเข้ามาภายในบ้าน รวมถึงช่วยสะท้อนรังสีความร้อนออกไปด้วย การติดตั้งฉนวนบริเวณโถงหลังคาจะช่วยลดความร้อนได้มากกว่าบริเวณอื่นในบ้าน เพราะกว่า 70% ของความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้านมาจากทางหลังคานี่เอง ในปัจจุบันมีฉนวนให้เลือกค่อนข้างมาก แต่สำหรับบ้านพักอาศัยมักจะนิยมใช้ฉนวนแบบแผ่น (ฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป มีลักษณะเป็นแผ่นหรือเป็นม้วน) เพราะสามารถรื้อเปลี่ยนใหม่ได้ง่าย หน้างานสะอาด โดยทั่วไปมี ประเภทให้เลือกใช้ คือ อะลูมิเนียมฟอยล์ โพลีเอธิลีนโฟม แอร์บับเบิ้ล และใยแก้ว การเลือกใช้งานควรพิจารณาถึงคุณสมบัติ ค่ากันร้อน ลักษณะการติดตั้ง รวมถึงข้อควรระวังต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ

1. อะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)

มีลักษณะเป็นแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ 2 หน้าบางๆ ทำหน้าที่สะท้อนความร้อน โดยมีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อนได้สูงสุด 97% สามารถเลือกได้ว่าจะติดตั้งบนแปหรือใต้แปบริเวณโครงหลังคา ซึ่งเฉพาะตัวมันเองแทบจะไม่มีค่าความสามารถในการต้านทานความร้อน หรือ ค่า (มีค่า ประมาณ 0.000001 m2.K/W หรือ 0.0000057 hr.ft2.F/Btu) เนื่องจากไม่มีความหนาเพียงพอจึงทำหน้าที่สะท้อนความร้อนเพียงอย่างเดียว แต่ในการติดตั้งจะต้องเว้นช่องว่างอากาศซึ่งถือว่าเป็นฉนวนกันความร้อนที่มีค่ากันร้อนที่นำมาคำนวณได้ โดยเมื่อยิ่งเว้นช่องว่างอากาศระหว่างแผ่นสะท้อนความร้อนกับวัสดุมุงหลังคามากเท่าใด ก็จะมีค่า R มากขึ้น มีข้อดีคือหาซื้อได้ง่าย ทนต่อแรงดึง ไม่ฉีกขาดง่าย แต่มีข้อควรคำนึงคือควรใช้ฉนวนประเภทอื่นร่วมด้วย เนื่องจากตัวอะลูมิเนียมฟอยล์เองจะช่วยสะท้อนความร้อนแต่ไม่ได้ป้องกันความร้อนที่จะส่งผ่านเข้ามาภายในบ้าน มีราคาประมาณ 80 บาทต่อตารางเมตร

 
อะลูมิเนียมฟอยล์ หรือแผ่นสะท้อนความร้อน
อะลูมิเนียมฟอยล์ หรือแผ่นสะท้อนความร้อน
การติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน สามารถติดตั้งได้ทั้งบนแปหรือใต้แปบริเวณโครงหลังคา
การติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน สามารถติดตั้งได้ทั้งบนแปหรือใต้แปบริเวณโครงหลังคา

2. โพลีเอธิลีนโฟม (Polyethylene Foam-PE)

เรียกอย่างย่อว่า ฉนวนโฟม PE มีลักษณะเป็นแผ่นโฟมที่มีอะลูมิเนียมฟอยล์ 1 หรือ 2 ด้าน ประกบแต่ละชั้นให้ติดกันด้วยกาว โฟม PE ทำหน้าที่ป้องกันความร้อน ส่วนอะลูมิเนียมฟอยล์ทำหน้าที่สะท้อนความร้อน ฉนวนโฟม PE จึงสามารถป้องกันความร้อนพร้อมกับช่วยสะท้อนความร้อนในตัว ในท้องตลาดมีความหนาให้เลือกเช่น 3, 4, 5 และ 10 มม. ที่นิยมใช้เป็นฉนวนกันความร้อนคือความหนาแบบ มม. ซึ่งความหนาแบบ มม. นี้ ตัวมันเองมีความสามารถในการต้านทานความร้อน หรือค่า R ประมาณ 0.208 m2.K/W (1.181 hr.ft2.F/Btu)  การติดตั้งจะติดตั้งแบบวางบนแป ใต้แป ใต้จันทัน (ขึงลวด/ตะแกรงลวด) หรือปูบนฝ้าเพดานก็ได้ มีข้อควรคำนึงคือ ตัวฟอยล์ที่ปิดผิว เมื่อฉีกขาดออกจนเห็นเนื้อ PE ข้างใน หากเกิดประกายไฟไปโดนจะทำให้เกิดการลามไฟได้ เนื่องจากฉนวน PE ทำมาจากพลาสติก Polyethylene Foam (แนะนำให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ผลิตแต่ละราย) ราคาประมาณ 45 บาทต่อตารางเมตร (สำหรับความหนา 5 มม.)

โพลีเอธิลีนโฟม
โพลีเอธิลีนโฟม

3. แอร์บับเบิ้ล (Air Bubble เรียกอีกอย่างว่า Bubble Foil)

เป็นฉนวนที่มีลักษณะคล้ายแผ่นพลาสติกกันกระแทกที่มีมวลอากาศอยู่ตรงกลาง หากแต่มีแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ประกบทั้ง 2 ด้าน มวลอากาศจะทำหน้าที่ป้องกันความร้อน ส่วนอะลูมิเนียมฟอยล์ทำหน้าที่สะท้อนความร้อน มีความหนาประมาณ 4-4.5 มม. ข้อควรคำนึงคือ ตัวฟอยล์ที่ปิดผิว เมื่อฉีกขาดออกจนเห็นเนื้อข้างใน หากเกิดประกายไฟไปโดนฉนวนด้านในจะทำให้เกิดการลามไฟได้ เนื่องจากฉนวน Bubble Foil ทำมาจากพลาสติกชนิดหนึ่ง (แนะนำให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ผลิตแต่ละราย) สามารถติดตั้งได้หลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งบริเวณโครงหลังคาแบบวางบนแป ใต้แป ใต้จันทัน (ขึงลวด/ตะแกรงลวด) หรือการปูบนฝ้าเพดาน ตัวมันเองมีความสามารถในการต้านทานความร้อน หรือค่า R (Resistivity) ประมาณ 0.101 m2.K/W (0.573 hr.ft2.F/Btu) มีราคาประมาณ 70 บาทต่อตารางเมตร

แอร์บับเบิ้ล
แอร์บับเบิ้ล

4.ใยแก้ว (Fiberglass)

ฉนวนใยแก้วจะห่อหุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ โดยใยแก้วทำหน้าที่ป้องกันความร้อนและอะลูมิเนียมฟอยล์ทำหน้าที่สะท้อนความร้อน ฉนวนใยแก้วมีหลายรูปแบบ สำหรับบ้านพักอาศัยจะมีทั้งแบบที่เหมาะกับการติดตั้งบนแปบริเวณโครงหลังคา และแบบปูบนฝ้าเพดานซึ่งสามารถติดตั้งได้ง่าย ไม่ลามไฟ มีข้อควรคำนึงคือ ต้องเตรียมพื้นที่สำหรับการกองเก็บพอสมควร (เป็นม้วนหนากว่าฉนวนแบบแผ่นประเภทอื่น)
สำหรับฉนวนใยแก้วกันความร้อนของ เอสซีจี จะมีหลายรุ่นให้เลือกใช้ โดยรุ่นที่เหมาะกับบ้านพักอาศัยจะเป็นฉนวนแบบปูบนฝ้าเพดานรุ่น STAY COOL หนา 75 มม. ซึ่งมีค่า ประมาณ 1.786 m2.K/W (10.139 hr.ft2.F/Btu) ราคาประมาณ 146 บาทต่อตารางเมตร  และฉนวนรุ่น STAY COOL หนา 150 มม. ซึ่งมีค่า ประมาณ 3.571 m2.K/W (20.273 hr.ft2.F/Btu) ราคาประมาณ 188 บาทต่อตารางเมตร  ส่วนบ้านที่เลือกใช้กระเบื้องหลังคาของ เอสซีจี บางรุ่น สามารถเลือกใช้ รุ่นอัลตราคูล ที่ติดตั้งบนแปก็ได้เช่นกัน ซึ่งมีค่า ประมาณ 1.786 m2.K/W(10.139 hr.ft2.F/Btu)  มีราคาประมาณ 200 บาทต่อตารางเมตร

ฉนวนกันความร้อนแบบปูบนฝ้าเพดานรุ่น STAY COOL
ฉนวนกันความร้อนแบบปูบนฝ้าเพดานรุ่น STAY COOL
ฉนวนกันความร้อนสำหรับติดตั้งบนแป บริเวณโครงหลังคา รุ่นอัลตราคูล
ฉนวนกันความร้อนสำหรับติดตั้งบนแป บริเวณโครงหลังคา รุ่นอัลตราคูล
ตารางเปรียบเทียบฉนวนกันร้อนแต่ละแบบ
ตารางเปรียบเทียบฉนวนกันร้อนแต่ละแบบ

หลังจากที่ได้รู้จักฉนวนแบบแผ่นแต่ละประเภทแล้ว จะเห็นได้ว่าฉนวนแต่ละประเภทมีคุณสมบัติและราคาแตกต่างกันไป อย่างไรก็ดีอายุการใช้งานของฉนวนแต่ละประเภทอาจไม่แตกต่างกันมากนัก การตัดสินใจเลือกใช้อาจพิจารณาจากความคุ้มค่าเป็นสำคัญ ซึ่งสามาถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความ “Q&A : เลือกฉนวนกันความร้อนอย่างไรให้คุ้มค่า

นอกจากการเลือกใช้ฉนวนเพื่อติดตั้งบริเวณโถงหลังคาซึ่งความร้อนจะผ่านเข้ามาทางนี้เป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังมีผนังบ้านซึ่งเป็นบริเวณหนึ่งที่ความร้อนจะสามารถผ่านเข้ามาได้เช่นกัน ซึ่งเราอาจเลือกวิธีการติดตั้งฉนวนบริเวณผนัง หรือใช้วิธีลดความร้อนด้วยการทำระแนงแผงบังแดดก็ตาม สิ่งสำคัญอย่าลืมเรื่องการระบายถ่ายเทอากาศภายในบ้านที่ดีด้วย 

 

ใส่ความเห็น

×

Cart