7 วิธี ทำบ้านให้สะอาด อยู่แล้วสุขภาพดี
แนวทางทำบ้านที่เราอาศัยให้อยู่ได้อย่างสบาย ปลอดภัย และมีสุขภาพดี ไม่ว่าจะเป็นบ้านเก่าหลังเดิมหรือบ้านสร้างใหม่
บ้านของเรา นอกจากจะถูกออกแบบก่อสร้างและตกแต่งในแบบที่เราชอบแล้ว การทำบ้านให้สะอาด สบายตา รวมถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้อยู่อาศัยแล้วมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กันเลย ซึ่งเรามี 7 วิธีที่สามารถทำได้ง่ายๆ มาฝากกัน (ดูแลรักษา)
1. สร้างสภาวะอยู่สบาย ระบายอากาศดี การสร้างสภาวะอากาศให้เหมาะสม อยู่อาศัยได้อย่างสบายกายภายในบ้านนั้น สามารถเริ่มได้ตั้งแต่การป้องกันความร้อนจากภายนอกที่จะผ่านเข้ามาภายในบ้าน ไม่ให้อากาศในบ้านอับชื้นจนเกินไป รวมถึงให้มีการระบายไหลเวียนถ่ายเทอากาศที่ดี
1.1 เลือกใช้วัสดุที่สะสมความร้อนน้อย เช่น เลือกใช้วัสดุหลังคาที่อมความร้อนน้อย เลือกใช้อิฐมวล เบาก่อผนัง ทาสีสะท้อนความร้อนที่ผนังภายนอกและหลังคาดาดฟ้า
1.2 ติดตั้งฉนวน เพื่อช่วยลดความร้อนที่จะผ่านเข้ามาภายในบ้านตามส่วนต่างๆ เช่น การติดตั้งฉนวนบริเวณหลังคา ฝ้าชายคา รวมถึงผนังบ้าน เป็นต้น
1.3 ทำสวนแนวตั้ง การปลูกต้นไม้ภายในบ้าน ก็เป็นหนึ่งในวิธีช่วยสร้างอากาศสดชื่นในบ้าน นอกจากการเลือกไม้กระถาง ก็สามารถเลือกทำสวนแนวตั้งที่สามารถติดตั้งเองได้ง่ายๆ ที่สำคัญควรเลือกต้นไม้ประเภทที่เหมาะกับปลูกภายในบ้าน ช่วยดูดซับสารพิษ และช่วยฟอกอากาศให้บริสุทธิ์
1.4 ติดตั้ง Well AIR อุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกับพัดลมระบายอากาศ ทำหน้าที่ตรวจวัด ควบคุม และปรับปรุงคุณภาพอากาศในห้องให้ดีอยู่เสมอ ผ่านระบบ Smart Control ในการควบคุมความชื้น อุณหภูมิ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ และ VOCs ให้อยู่ในปริมาณที่ดีต่อสุขภาพ ขณะเปิดระบบ Well AIR เมื่อคุณภาพอากาศต่ำกว่าค่าที่กำหนด ระบบจะสั่งการให้พัดลมระบายอากาศทำงานอัตโนมัติ และเมื่อคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ระบบจะสั่งให้พัดลมระบายอากาศหยุดทำงาน ซึ่งระบบนี้สามารถดูผลการทำงานและสั่งการผ่านแอปพลิเคชัน “SmartLiving” ได้ นอกจากจะช่วยลดความร้อนอบอ้าว ลดการสะสมของเชื้อโรคและอากาศเสียในบ้าน ลดความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้แล้ว ยังช่วยประหยัดไฟจากการใช้เครื่องปรับอากาศอีกด้วย
1.5 ติดตั้ง Active AIRflow™ System นวัตกรรมเร่งการถ่ายเทอากาศ ระบายความร้อนออกจากตัวบ้านและโถงหลังคา เพิ่มการหมุนเวียนอากาศในบ้านแบบอัตโนมัติ ลดการสะสมเชื้อโรคและความอับชื้นภายในบ้าน รวมถึงลดความเสี่ยงในการเกิดอาการภูมิแพ้ ผ่านอุปกรณ์ที่ติดตั้งตามจุดต่างๆ ในบ้าน ควบคุมการทำงานผ่านกล่องประมวลผลอัจฉริยะ (Smart Control Box) แสดงผลผ่านแอพพลิเคชัน “SmartLiving” ที่ควบคุมได้จากสมาร์ทโฟน
ระบบนี้เป็นหลักการที่อาศัยอากาศภายนอกให้ไหลเวียนเข้าสู่ตัวบ้านผ่าน “ช่องระบายอากาศติดผนัง” (Intake Air Grille) และดึงความร้อนจากภายในตัวบ้านขึ้นสู่โถงใต้หลังคาด้วย “ระบบระบายอากาศฝ้าเพดาน” (Ceiling Ventilator) และระบายออกสู่นอกตัวบ้านผ่าน “ระบบระบายความร้อนในโถงหลังคา” (Solar Roof Tile Ventilator) ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ จะทำให้บ้านมีอากาศถ่ายเทตลอดเวลา ไม่อบอ้าวอับชื้น แม้จะปิดบ้านไว้ทั้งวันก็ตาม อีกทั้งช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าจากการใช้เครื่องปรับอากาศ
1.6 วางเฟอร์นิเจอร์ไม่ขวางทางลม โดยจัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้อยู่ในตำแหน่งเหมาะสม นอกจากจะไม่กีดขวางทางเดินแล้ว ยังไม่กีดขวางทางลม เพื่อให้ลมสามารถพัดผ่านได้สะดวก ระบายอากาศในห้องได้อย่างดี
2. สร้างอากาศบริสุทธิ์ในบ้าน อากาศบริสุทธิ์ในบ้านสร้างได้ ด้วยการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ หมั่นล้างแอร์และดูดฝุ่นเป็นประจำ
2.1 ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ ซึ่งเป็นตัวช่วยฟอกกรองฝุ่น กรองกลิ่น สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ทำให้อากาศภายในบ้านสะอาด สดชื่น ปลอดภัย สามารถอาศัยได้อย่างสบายใจและมีสุขภาพดี
2.2 ล้างแอร์ ดูดฝ่น สปา การหมั่นล้างแอร์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง จะช่วยให้อากาศในห้องสะอาดสดชื่น นอกจากนี้ แนะนำให้ดูดไรฝุ่น สปาฆ่าเชื้อตามที่นอน ปลอกหมอน ผ้าม่าน มุ้งลวด ขอบประตูหน้าต่าง รวมถึงอบโอโซนภายในห้อง ให้มีอากาศที่บริสุทธิ์เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
3. มีแสงสว่างเหมาะสม ไม่มืดหรือสว่างจนเกินไป โดยการให้แสงธรรมชาติส่องผ่านเข้ามาได้นั้นต้องไม่ร้อน มีติดตั้งโคมไฟตามจุดต่างๆ เผื่อว่าหากบางจุดที่แสงธรรมชาติส่องไม่ถึงหรือมืดเกินไปก็เลือกเปิดไฟให้มีแสงสว่างเพียงพอได้
4. จัดบ้านให้เป็นที่เป็นทาง เมื่อจัดบ้านเป็นระเบียบเรียบร้อย ของอยู่ถูกที่ทางแล้ว นอกจากจะทำให้เราหยิบจับใช้สอยของต่างๆ ได้อย่างสะดวกแล้ว ยังดูแลทำความสะอาดง่าย ที่สำคัญ อย่าลืมหมั่นจัดเก็บของ เคลียร์ของที่ไม่ใช้โดยทิ้งหรือบริจาคของอย่างสม่ำเสมอ
5. เลือกใช้วัสดุที่ปลอดภัย วัสดุตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ในบ้าน ควรเลือกที่ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง พื้นผิวทำความสะอาดง่าย ไม่กักเก็บสิ่งสกปรก เช่น เลือกใช้กระเบื้องและสุขภัณฑ์ไฮยีน (Hygiene) ที่ช่วยลดคราบและทำความสะอาดง่าย, สีทาบ้านที่ลดปริมาณสารระเหยอินทรีย์ (VOCs) หรือสารเคมีให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ
6 เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงโรค เลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดสัตว์รบกวน หรือเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค เช่น รก ขยะเศษอาหาร โพรงใต้บ้าน และแหล่งเพาะยุง ที่เราควรหลีกเลี่ยง หรือลดให้น้อยที่สุด
6.1 จัดบ้านให้ไม่รก เพราะความรกจะทำให้เราดูแลทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึงทุกซอกมุม ดูไม่สวยงามสบายตาแล้ว ยังเป็นแหล่งสะสมฝุ่นและเพาะเชื้อโรคอีกด้วย
6.2 ทิ้งขยะ/เศษอาหารให้มิดชิดเรียบร้อย ไม่ให้มีแมลงมาตอม หรือสัตว์มาคุ้ยเขี่ย ที่อาจทำให้พื้นที่สกปรกเลอะเทอะเน่าเหม็น
6.3 ปิดโพรงใต้บ้านให้เรียบร้อยดูดี เพราะโพรงใต้บ้าน นอกจากจะดูไม่สวยงามเท่าไรนักแล้ว ยังอาจเป็นแหล่งซ่อนตัวของสัตว์ตัวเล็กๆ ทั้งที่ไม่อันตรายและที่สามารถทำอันตรายกับเราได้ จึงแนะนำให้ปิดโพรงให้เรียบร้อยเพื่อความปลอดภัยของคนในบ้าน
6.4 กำจัดแหล่งเพาะยุง เพราะยุงเป็นตัวนำโรคมาสู่คนได้ เราจึงควรป้องกันโดยการกำจัดแหล่งเพาะยุงทั้งหมด เพื่อลดโรคจากยุง
7. ควบคุมเสียงให้เหมาะสม เราควรควบคุมเสียงต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ภายในบ้านได้ดี และไม่รบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียง
7.1 กันเสียงรบกวนจากภายนอก สำหรับห้องหรือพื้นที่ที่ต้องการความเงียบหรือใช้สมาธิ เช่น ห้องทำงาน ห้องอ่านหนังสือ แต่มีปัญหาเสียงจากภายนอกรบกวน เราควรทำผนังกันเสียงเพิ่มเติม รวมถึงปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด
7.2 ใช้วัสดุซับเสียง สำหรับห้องที่ต้องมีการใช้เสียงหรือมีเสียงดัง ควรติดตั้งวัสดุกันเสียงและดูดซับเสียงเพื่อลดเสียงก้อง สร้างคุณภาพเสียงที่ดี ทั้งยังไม่รบกวนการทำกิจกรรมอื่นของสมาชิกในบ้านตลอดจนเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน
ขอบขอบคุณที่มาของบทความ
www.scghome.com
ติดตาม
Facebook : SCGRachaprueck