ใส่ใจเรื่องเสียงดังในโรงงานสักนิด เพื่อช่วยลดมลพิษทางเสียง ระดับเสียงที่ดังเกินเกณฑ์มาตรฐานนั้นต้องระวัง เนื่องจากมีผลกระทบต่อร่างกายของผู้คนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสียงดังจากในโรงงานที่เจ้าของควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ
ในชีวิตประจำวันเราล้วนต้องเผชิญกับเสียงต่างๆ มากมาย บ่อยครั้งเราก็ไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่า เสียงดังระดับไหนที่จะส่งผลร้ายต่อร่างกายเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องอาศัยการทำงานของเครื่องจักรขนาดใหญ่ และก่อให้เกิดเสียงดังกว่าปกติ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อร่างกายของพนักงานภายในองค์กรแล้ว ผู้คนที่อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ก็จะได้รับความเดือดร้อนรำคาญใจตามไปด้วย อันอาจนำมาซึ่งปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ดังนั้น ในฐานะผู้ประกอบการโรงงานที่เป็นต้นกำเนิดเสียง ควรจะทราบและทำความเข้าใจให้ดีว่า เสียงดังระดับไหน ถึงส่งผลให้เกิดอันตรายต่อพนักงานและผู้คนรอบข้าง
รู้จักระดับความดังของเสียง หลีกเลี่ยงอันตรายต่อร่างกาย
การที่เราจะทราบว่าเสียงระดับไหนบ้างที่ส่งผลไม่ดีต่อร่างกายคนเรา เรื่องแรกที่เราต้องรู้คือ “เดซิเบล” ซึ่ง Decibel หรือ DB นั้น คือหน่วยวัดระดับความดังของเสียง ซึ่งได้รับการคิดค้นขึ้นโดย Alexander Graham Bell หน่วยวัดเดซิเบลนี้จะเป็นเกณฑ์ที่บอกว่า เสียงระดับไหนส่งผลต่อร่างกายเราอย่างไร โดยสามารถพิจารณาเทียบเคียงกับเสียงต่างๆ ในชีวิตประจำวันเราได้ ดังนี้
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) มีเกณฑ์กำหนดว่า เสียงที่เป็นอันตรายต่อคนเรานั้น หมายถึง “เสียงที่ดังเกินระดับ 85 เดซิเบลขึ้นไป” ซึ่งจากตัวอย่างเสียงในชีวิตประจำวันนั้น เสียงที่เข้าข่ายส่งผลอันตรายต่อร่างกายคนเรา โดยที่เราอาจไม่เคยทราบมาก่อนเลยก็คือ เสียงที่ดังบนท้องถนนในขณะที่เรากำลังนั่งอยู่ในรถ เสียงในโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมด เสียงสว่านเจาะถนน และเสียงเครื่องบินทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ซึ่งอันตรายที่ว่านั้น จะส่งผลกระทบต่อทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยจะทวีความรุนแรงมากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ร่างกายเราได้รับเสียงนั้น
ลดเสียงดังในโรงงานอุตสาหกรรมตามมาตรฐาน ทำงานปลอดภัย
สรุปว่า เสียงที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมด ถือได้ว่าอยู่ในระดับที่สามารถสร้างผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้คนรอบข้างได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพนักงานที่ต้องทำงานอยู่ในโรงงานเป็นระยะเวลาต่อเนื่องและยาวนาน ผู้ประกอบการหรือเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีความจำเป็นต้องควบคุมดูแลระดับของเสียงที่เกิดขึ้นในโรงงานให้ได้มาตรฐาน อย่างน้อยที่สุดคือต้องควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ นั่นก็คือ ไม่เกิน 85 เดซิเบล
ส่วนแนวทางในการควบคุมเสียงของโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำได้คือ การติดตั้งฉนวนกันเสียง เช่น ผลิตภัณฑ์วัสดุอะคูสติก เอสซีจี ผนังกันเสียง รุ่น Cylence Zoundblock ซึ่งเป็นฉนวนแบบแผ่นแข็งสีเทา หุ้มรอบด้านด้วยวัสดุกันความชื้น ใช้สำหรับการกันเสียงระหว่างผนัง เพื่อลดระดับความดังของเสียงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งการให้พนักงานสวมใส่อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการป้องกันความเสี่ยงจากเสียงดัง และการควบคุมระยะเวลาในการทำกิจกรรมต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดเสียง ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พนักงานไม่ได้รับเสียงดังๆ ติดต่อกันนานเกินไป
ใส่ใจเรื่องเสียงดังในโรงงานสักนิด เพื่อช่วยลดมลพิษทางเสียง ระดับเสียงที่ดังเกินเกณฑ์มาตรฐานนั้นต้องระวัง เนื่องจากมีผลกระทบต่อร่างกายของผู้คนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสียงดังจากในโรงงานที่เจ้าของควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ