5 ขั้นตอนแก้ปัญหาเสียงดังจากเครื่องจักรในโรงงาน
5 ขั้นตอนแก้ปัญหาเสียงดังจากเครื่องจักรในโรงงาน ปัญหาเสียงดังในโรงงานซึ่งมีระดับเสียงดังเกินกว่ามาตรฐานกำหนด นับเป็นมลพิษทางเสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญ อีกทั้งมีผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานที่ต้องทำงานในโรงงานและคนในชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงโรงงาน ซึ่งต้องหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขอย่างเร่งด่วน(ดูแลรักษา)
ส่วนใหญ่ปัญหาเรื่องเสียงดังในโรงงานเกิดจากการทำงานของตัวเครื่องจักร ซึ่งจากประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เกี่ยวกับมาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน (8 ชั่วโมง) นั้น จะต้องมีค่าระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน หรือ Time Weighted Average (TWA) ไม่เกิน 85 เดซิเบล ซึ่งหากค่าระดับเสียงเกินกว่านี้ ทางผู้ประกอบการหรือนายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการในการป้องกันการได้ยินในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ เช่น การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ให้กับพนักงานในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็น ที่ครอบหู เอียปลั๊ก เป็นต้น รวมถึงหาแหล่งกำเนิดเสียงที่เป็นปัญหาและหาแนวทางแก้ไขเพื่อลดเสียงอย่างเร่งด่วนโดยอาศัยความชำนาญเฉพาะทางด้านอะคูสติก ให้ช่วยลดผลกระทบต่อพนักงานในโรงงานเองรวมถึงคนในชุมชนใกล้โรงงาน เพราะหากเสียงดังจนกระทบต่อการอยู่อาศัยของชุมชนใกล้เคียงแล้ว อาจเกิดการร้องเรียนขึ้นจนถึงขั้นต้องปิดโรงงานได้
ครั้งนี้ เอสซีจีมีตัวอย่างการแก้ปัญหาเรื่องเสียงดังภายในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง ที่ได้รับการร้องเรียนจากชุมชนใกล้เคียงให้ปิดโรงงาน เนื่องจากเสียงดังรบกวนและก่อให้เกิดความรำคาญ ซึ่งทางเอสซีจีได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นตอนแรก เริ่มจากทีมงานวิศวกรเข้าไปสำรวจพื้นที่โดยรอบ พบว่าระยะห่างระหว่างชุมชนใกล้เคียงกับโรงงานนั้นอยู่ห่างกัน 3 เมตร
2. ทำการวัดเสียงภายในและภายนอกโรงงาน ค่าที่วัดได้คือ ภายใน 88 dBA ส่วนภายนอก 67 dBA ซึ่งถือว่าเสียงดังเกินกว่าที่เกณฑ์กำหนด
3. วิเคราะห์ปัญหาโดยการหาแหล่งกำเนิดเสียง ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบเกิดจากเครื่องปั๊มโลหะ
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing el4. ป้องกันและลดเสียงลง โดยให้เสียงที่วัดได้ภายในโรงงาน ไม่เกินเกณฑ์ 85 dBA ทางทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านอะคูสติก (Acoustic expert) ได้มีการวิเคราะห์ปัญหาโดยรวมและพบว่า ส่วนของหลังคาโรงงานซึ่งเลือกใช้หลังคาเมทัลชีททำให้เสียงก้องมากยิ่งขึ้น จึงพิจารณาแนวทางแก้ไขว่าต้องติดตั้งวัสดุอะคูสติกสำหรับดูดซับเสียงรุ่น Cylence Zoftone บริเวณด้านในโรงงานทั้งบริเวณผนังและฝ้าเพดาน เพื่อลดเสียงจากเครื่องปั๊มโลหะ t. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
5. ทำการวัดเสียงอีกครั้ง หลังจากการติดตั้งวัสดุอะคูสติก รุ่น Cylence Zoftone ทั้งบริเวณฝ้าเพดานและผนังเรียบร้อยแล้ว ผลที่ได้ภายในโรงงานวัดได้ 84 dBA จากเดิม 88 dBA ลดลง 4 dBA ส่วนภายนอกโรงงานวัดได้ 57 dBA จากเดิม 67 dBA ลดลง 10 dBA
ผลที่ได้หลังจากติดตั้งฉนวนดูดซับเสียงเรียบร้อยแล้ว สามารถลดความดังเสียงเครื่องปั๊มโลหะที่สะท้อนอยู่ภายในโรงงานและลดเสียงภายนอกลงได้ และไม่มีการร้องเรียนจากชุมชนใกล้เคียงอีกต่อไป
หากสนใจและต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านอะคูสติกได้ที่ คุณณัฐคม สุวรรณกุล 085-488-2527ค่ะ
ขอบคุณที่มาของบทความ : www.scgbuildingmaterials.com